การปรับเบาะและท่านั่งขับรถที่ถูกต้อง มีผลมากต่อความปลอดภัยในการขับรถ รวมถึงความปลอดภัย เมื่อเกิดการชนด้วย การปรับเบาะที่ถูกต้องทำได้ไม่ยาก แค่ใช้ฝ่าเท้า เน้นว่าฝ่าเท้า ไม่ใช่ปลายเท้า เหยียบแป้นคลัตช์ให้สุด หรือถ้าเป็นเกียร์ออโต้ ก็ใช้ฝ่าเท้าเหยียบ แป้นเบรก แล้วเลื่อนตัวเบาะนั่งให้เข่างอเล็กน้อย
นั่นเป็นตำแหน่งของเบาะนั่งที่เหมาะสม
หมอนรองศีรษะก็สำคัญ ควรปรับให้พอดี โดยให้เอนศีรษะแล้วพิงช่วงกลางหมอนพอดี แต่ศีรษะไม่ต้องพยายามพิงหมอนเวลาขับ เพราะหมอน รองศีรษะมีไว้รองรับ เมื่อเกิดการชนแล้ว ศีรษะจะได้สะบัดไปด้านหลังน้อย ไม่ใช่ไว้พิงตอนขับ
เข็มขัดนิรภัยถ้าปรับสูง-ต่ำได้ ก็ควรปรับต่อ จากการปรับเบาะ จะได้พอดีกัน ที่ถูกต้องสายเข็มขัดนิรภัย ต้องพาดจากไหปลาร้าเฉียงลงมาที่สะโพก ส่วนด้านล่างก็พาดอยู่แถ วกระดูกเชิงกราน อย่าให้สายพาดคอ หรือห้อยเลยหัวไหล่ลงไป
พวงมาลัยของรถรุ่นใหม่ๆ มักปรับสูงต่ำได้ก็ควรปรับให้พอดี คือ
ไม่สูงเกินไปเพราะจะเมื่อยเมื่อขับนานๆ
และไม่ต่ำเกินไปจนติดต้นขา
กระจกมองข้าง และกระจกมองหลัง เปรียบเสมือนตาหลังของคนขับ
กระจกมองข้างควรปรับไม่ก้มหรือเงยเกินไป
และปรับให้เห็น ด้านข้าง ของตัวรถเรานิดๆ
อย่าให้เห็นแต่ทางด้านหลังล้วนๆ
ส่วนกระจกมองหลังก็ปรับให้เห็นด้านหลังเป็นมุมกว้างที่สุด
ไม่ใช่ปรับไว้ส่องหน้าตัวเอง แบบที่หลายคนทำกัน
ทั้งหมดที่แนะนำต้องปรับตอนรถจอดนิ่งในที่ปลอดภัย
อย่าปรับตอนขับรถหรือจอดบนถนน อันตราย ถุงลมนิรภัย
หรือแอร์แบ็ก ซึ่งรถรุ่นใหม่ๆ มักมีมาให้อย่างน้อย 1
ใบในฝั่งผู้ขับ
ถุงลมนิรภัยจะพองตัวขึ้นเองเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
มีไว้รองรับร่างกายส่วนบนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ไม่ให้ปะทะกับพวงมาลัยหรือแผงหน้าปัดโดยตรง
ช่วยลดความบาดเจ็บได้
แต่ก็ต้องมีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย
สิ่งสำคัญในการขับรถที่มีถุงลมฯ คือ
ต้องปรับเบาะและพนักพิงให้เหมาะสม
อย่าให้ชิดเข้ามามากเกินไป คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
และจับพวงมาลัย ให้ถูกตำแหน่ง ถ้าปรับเบาะชิดไป
และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร่างกายส่วนบนอาจปะทะกับถุงลมฯ
ผิดจังหวะ คือ ปะทะตอนถุงลมยังพองตัวไม่สุด
ร่างกายพุ่งไป ด้านหน้าแล้วเจอกับถุงลมฯ ที่พุ่งสวนออกมา
กลายเป็น 2 แรงบวกเจ็บหนัก แน่การจับพวงมาลัย ก็เกี่ยวข้องกับถุงลมฯ
เพราะถ้าจับไม่ถูกตำแหน่งแขนอาจไปขวางทางการพองตัวของถุงลมฯ
ทำให้ถุงลมฯ ไม่ได้ทำงาน ตามที่ออกแบบมา
ส่วนรถที่มีถุงลมฯ
ฝั่งข้างคนขับก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่วางของขวางทางถุงลมฯ
และอ่านคำเตือน เรื่องถุงลมฯ
ในคู่มือประจำรถ อย่างละเอียดก่อนใช้งานด้วย
ถุงลมนิรภัยจะช่วยลดความบาดเจ็บได้ ก็ต่อเมื่อมีการใช้งานอย่างถูกวิธี
จำง่ายๆ ว่า อย่านั่งชิดเกินไป
และต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดการขับรถ
ไม่งั้นอาจกลายเป็นถุงลมมหาภัยได้
ตำแหน่งการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง
จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า
คนไทยมีการจับพวงมาลัยผิดตำแหน่งกันมากกว่าครึ่ง
แต่ก็ไม่ได้สำรวจอย่างจริงจัง
แค่ลองนั่งริมถนนคอยดูคนขับรถผ่านไปเท่านั้น3
สาเหตุที่ทำให้หลายคนปฏิบัติกันผิดๆ
ก็คือ
1. เน้นความสบายของตนเองเป็นหลัก
2.จับพวงมาลัยตามใจชอบ ก็ไม่เห็นจะเกิดอุบัติเหตุเลย
3. ไม่มีใครบอกใครสอน ทั้งตอนหัดขับรถ หรือคนอื่นนั่งไปด้วย
ตำแหน่งที่ถูกต้องของการจับพวงมาลัย เมื่อเปรียบเทียบกับหน้าปัดนาฬิกา เพราะเป็นวงกลมเหมือนกัน น่าจะเข้าใจกันได้ง่าย
มือซ้ายอยู่ใน ตำแหน่ง 9 นาฬิกา มือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกา
ส่วนตำแหน่ง 10 และ 2 นาฬิกา อนุโลมได้ แต่ไม่แนะนำ เพราะความแม่นยำในการบังคับควบคุม จะด้อยกว่าตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาซึ่งอยู่ครึ่งหรือช่วงกลางของวงพวงมาลัยพอดี
การกำพวงมาลัยสำหรับการขับรถบนเส้นทางเรียบ
ไม่ใช่วิบาก ควรใช้นิ้วโป้งเกี่ยวช่วยด้วยเสมอ
กำแน่นพอประมาณ แต่ไม่หลวมเกินไป ควรจับพวงมาลัย 2
มือ ที่ตำแหน่ง 9 และ 3 นาฬิกาอยู่เสมอ
(แต่ไม่ถึงกับเกาหรือปรับวิทยุไมได้)
อย่าชะล่าใจเมื่อเห็นเส้นทางโล่งๆ หรือเดินทางไกล
เพราะถนนเมืองไทยมีหลุมโดยไม่ได้คาดหมาย
หรือมีอะไรให้หักหลบฉุกเฉินได้เสมอ
และหลังเปลี่ยนเกียร์แล้ว อย่าวางมือคาไว้บนหัวเกียร์
ให้ยกมือขึ้นมาจับพวงมาลัยครบ 2
มือตามปกติ
อ่านแล้วนอกจากจะนำไปปฏิบัติ
(เหมือนว่าบางคนจะแก้ไขยาก เพราะเคยชิน
แต่ถ้าตั้งใจก็ไม่ยาก) ก็ควรเผยแพร่ออกไป เท่าที่ทำได้
เพราะไม่ใช่เรื่องยากเลยกับการจับพวงมาลัยครบ 2
มือตามตำแหน่งที่บอก เกือบตลอดการขับ
ถ้าขับทางไกล แล้วรู้สึกเมื่อย
ก็แค่บีบข้อศอก เข้ามาแตะลำตัวเท่านั้นเอง
ไม่ควรคิดว่าจับพวงมาลัยตำแหน่งแบบไหนๆ ก็ไม่เคยขับรถชน
เพราะถ้าพลาดเพียงครั้งเดียว
อาจไม่มีโอกาสนึกถึงการแนะนำนี้เลยก็เป็นได้
ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
|